แผนการจัดการเรียนรู้


แผนการจัดการเรียนรู้  (รายชั่วโมง)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (วิวิธภาษา)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
ครั้งที่  ๖๔
สาระหลักที่  : การเขียน
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี  ท ๒.๑.๒ (๒)
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑๑  เรื่อง  คิดต่างกัน  แต่อยู่ร่วมกันได้
ใช้เวลาสอนทั้งหมด      ชั่วโมง
สอนมาแล้ว     ชั่วโมง
สอนครั้งนี้    ชั่วโมง





 ๑. สาระการเรียนรู้
            การเขียนผังมโนภาพ  หรือการเขียนแผนผังความคิด                
  ๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง                                                                                                                                
            ขียนผังมโนภาพ  หรือแผนผังความคิดจากเรื่องที่กำหนดให้ได้
๓. กระบวนการจัดการเรียนรู้
            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  
            ครูเขียนคำว่า  มโนภาพ  บนกระดานดำ  แล้วให้นักเรียนหาความหมายของคำว่า  มโนภาพ  จากพจนานุกรม  ซึ่งมีความหมายดังนี้
                คำว่า  มโนภาพ  ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  ๒๕๔๒  หน้า  ๘๓๓  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  น.  ความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในใจ
                แล้วครูก็สนทนากับนักเรียน  เรื่อง  การเขียนผังมโนภาพ  หรือ  การเขียนแผนผังความคิด
            ขั้นสอน
๑)         ครูแจกใบความรู้  เรื่อง  การเขียนผังมโนภาพ  หรือ  การเขียนแผนผังความคิด  ให้นักเรียนศึกษา
พร้อมครูอธิบายประกอบ
๒)   ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ให้แต่ละกลุ่มเขียนผังมโนภาพ  หรือเขียนแผนผังความคิด  จากเรื่อง 
คิดต่างกัน  แต่อยู่ร่วมกันได้  โดยให้นำเนื้อเรื่องตั้งแต่หน้า ๑๒๕ – ๑๒๘ มาเขียนเป็นผังมโนภาพ  ต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง
๓)    เมื่อเขียนผังมโนภาพเสร็จแล้วให้เขียนลงแผ่นใส  แล้วนำมาฉายขึ้นจอภาพ  พร้อมอธิบายให้กลุ่มอื่น ๆ ฟัง  จากนั้นให้นำผังมโนภาพมาส่งครู
            ขั้นสรุป
            ครูตรวจผังมโนภาพของนักเรียน  แล้วฉายผังมโนภาพที่ถูกต้องให้นักเรียนดู  พร้อมอธิบายประกอบ
๔. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
            ๔.๑  หนังสือเรียนวิวิธภาษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
             ๔.๒  ใบความรู้  เรื่อง  การเขียนผังมโนภาพ  หรือการเขียนแผนผังความคิด
๕.  การวัดผลและการประเมินผล
            ๕.๑  ตรวจผลงานการเขียนผังมโนภาพของนักเรียน



ใบความรู้
เรื่อง  การเขียนผังมโนภาพหรือแผนผังความคิด

          ๑.   ความจริงเกี่ยวกับความคิดของมนุษย์
      ความจริงมีอยู่ว่า  บุคคลทุกคนสามารถเพิ่มกำลังความสามารถในการคิดของตนเองให้สูงขึ้น เร็วขึ้น  กว้างไกลขึ้น  และมีคุณภาพยิ่งขึ้นได้  เมื่อโอกาสได้เรียนรู้หลักการฝึกฝนความคิดความตั้งใจจริง
         ๒.   องค์ประกอบของความคิด
      ความคิดของคนเราประกอบขึ้นจากมโนภาพ  คือ  ภาพที่ปรากฏภายในใจของแต่ละคน  แม้จะมองไม่เห็นแตะต้องไม่ได้  แต่ทุกคนก็ทราบดีว่าภายในใจของตนมีภาพต่าง ๆ ปรากฏอยู่  เช่น  ภาพของป่าไม้  รถยนต์  ภูเขา  ท้องนา  ความอดอยาก  ความสนุกสนาน  ความกล้าหาญ  ความอดทน  เป็นต้น
         ๓.   สาเหตุที่คนเรามีมโนภาพ
การที่คนเราเกิดมีมโนภาพขึ้นนั้น  เนื่องมาแต่สาเหตุที่สำคัญ    ประการ  ประกอบกัน  ได้แก่ 
  ๑)  คนเรามีประสาทสัมผัสทั้งห้า  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และกาย  ได้สัมผัสกับสิ่งรอบตัว  และได้รับรู้สิ่งเหล่านั้นตลอดมา
๒)  คนเราได้เรียนรู้ภาษาและสามารถใช้คำพูดเรียกสิ่งที่ได้สัมผัสอย่างสม่ำเสมอ  เราอาจกล่าวได้ว่ามโนภาพของคนเราแยกไม่ออกจากคำพูดในภาษา
         ๔.   ประเภทของมโนภาพ
มโนภาพที่คนเราก็มีเหมือน ๆ กัน  เมื่อผ่านพ้นระยะหนึ่งของชีวิตมาแล้ว  มี    ประเภท  ได้แก่ 
๑)  มโนภาพของวัตถุ  ได้แก่  สิ่งที่เป็นรูปภาพต่าง ๆ เช่น  ปากกา  สมุด  ดินสอ  โต๊ะ  เก้าอี้  โรงเรียน  นาฬิกา  รถจักรยาน ฯลฯ วัตถุเป็นสิ่งที่ทรงตัวอยู่เช่นนั้น ไม่หายไปไหน มีความสม่ำเสมออยู่อย่างนั้น ตลอดจนระยะเวลาหนึ่ง
๒)  มโนภาพของเหตุการณ์  เช่น  การต่อสู้  การแข่งขัน  การสอบ  ความโกรธ  ฟ้าผ่า  ฝนตก  ไฟดับ ฯลฯ  เหตุการณ์นั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไป  เคลื่อนไหว  ไม่ทรงตัวอยู่
         ๕.   ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในใจของเรานั้นมีสภาพอย่างวัตถุหรือเหตุการณ์
ความรู้สึกนั้นมีสภาพไม่ทรงตัวอยู่ตลอดไป  มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  เช่น  เดี๋ยวรัก  เดี๋ยวโกรธ  เดี๋ยวดีใจ  เดี๋ยวเสียใจ  ความรู้สึกจึงพออนุโลมได้ว่าเป็นเหตุการณ์
          ๖.   มโนภาพที่ใกล้เคียงกัน
มโนภาพที่ใกล้เคียงกันซึ่งอยู่ในใจของเรานั้นมีอยู่มากมายและมโนภาพแต่ละอย่างต่างอยู่อย่างเอกเทศแต่อาจนำมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันกันได้
ต่อไปนี้เป็นมโนภาพที่ใกล้เคียงกัน  ซึ่งแต่ละมโนภาพอยู่กันอย่างเอกเทศ




  เราอาจนำมโนภาพข้างต้นมาเชื่อมโยงกัน  ดังผังต่อไปนี้


 




  เราจะเห็นว่า  มโนภาพของอาหาร  เชื่อมโยงกับ  ปลา  ผัก  ผลไม้  เครื่องเชื่อมโยง  ได้แก่  มี
            นอกจากนี้  มโนภาพทั้งสาม  คือ  ปลา  ผัก  ผลไม้  อาจเชื่อมโยงถึงกันด้วย  และ  ทั้งโยงต่อไปยังมโนภาพ  วิตามิน  ด้วยเครื่องเชื่อม  ให้  ดังผังข้างล่างนี้


 






      ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า  มโนภาพที่สัมพันธ์กันนั้น คือความคิดของมนุษย์นั่นเอง

         ๗.   มโนภาพที่เชื่อมโยงกัน
มโนภาพที่เชื่อมโยงกัน  เรียกว่า  มโนภาพสัมพันธ์  และเมื่อเขียนลงไว้ให้ชัดเจนบนแผ่นกระดาษ  เรียกว่า   ผังมโนภาพ  หรือ  แผนผังความคิด  หรือ  ผังมโนทัศน์
         ๘.   ประโยชน์ของมโนภาพสัมพันธ์  หรือ  แผนผังความคิด
การแสดงมโนภาพสัมพันธ์ออกมาในรูปของผังมโนภาพ  เป็นการเปลี่ยนสิ่งที่ไม่มีตัวตน  เห็นได้ชัดเจน ทั้งแก่เจ้าของมโนภาพเองและบุคคลอื่น  เป็นประโยชน์ในการพัฒนาความคิด  ให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระเบียบ
          ๙.   การเชื่อมโยงผังมโนภาพ
มโนภาพต่อไปนี้  อาจเชื่อมโยงเข้าด้วยกันกับมโนภาพอื่นได้
จักจั่น  เพลง  ความเพียร  ความรู้  ความตาย  การอบรม  ความชำนาญ  สุภาษิต  จดหมาย



 









       ๑๐.   สิ่งที่ชักนำให้ความคิดคลี่คลายและเชื่อมโยงกัน
ความคิดจะคลี่คลายและเชื่อมโยงกันต่อไปได้กว้างขวางเพียงใด  ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของมโนภาพนั่นเอง  ซึ่งมโนภาพสัมพันธ์อาจเปลี่ยนเป็นผังมโนภาพ  โดยมีส่วนประกอบดังนี้
                   ๑)      ตัวมโนภาพ  คือ  คำพูดมีวงกลมล้อมรอบ
                 ๒)      เครื่องเชื่อมโยง  คือ  เครื่องเชื่อมต่อระหว่างมโนภาพหนึ่งกับอีกมโนภาพหนึ่ง  โดยมีคำหรือกลุ่มคำสื่อความกำกับไว้  เพื่อบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างมโนภาพ
                  ๓)      ทิศทางของความเชื่อมโยง  คือ  เครื่องหมายลูกศร  เมื่อชี้ไปที่ใด  มโนภาพที่อยู่ในที่นั้นเป็นปลายทางของความสัมพันธ์  ลูกศรเริ่มต้นจากที่ใด  มโนภาพที่อยู่ที่นั้นเป็นต้นทางของความสัมพันธ์นั้น
                  ๔)      รูปแบบ  ผังมโนภาพอาจเขียนได้โดยเสรี  แต่เราอาจกำหนดรูปมโนภาพได้                 
       ๑๑.   รูปแบบผังมโนภาพ
รูปแบบที่    จากบนลงล่าง  รูปแบบนี้  มโนภาพแรกจะอยู่บนสุด  มโนภาพต่อ ๆ ไปที่จะสัมพันธ์กันจะลดหลั่นกันลงมา  เช่น


 











รูปแบบที่    จากล่างขึ้นบน  รูปแบบนี้  มโนภาพแทรกอยู่ล่างสุด  แล้วโยงขึ้นไปยังมโนภาพอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันในตอนบน  สูงขึ้นไปโดยลำดับ  เช่น


 

















รูปแบบที่    ขยายรอบตัว  รูปแบบนี้  เขียนมโนภาพแรกไว้ตรงกลาง  ส่วนมโนภาพอื่นที่สัมพันธ์  เขียนกระจายออกรอบ ๆ ไกลออกไปได้หลายระยะ  เช่น



 
















     ๑๒.   วิธีเพิ่มกำลังความสามารถในการคิด
นักจิตวิทยาเชื่อว่าผังมโนภาพสัมพันธ์ของบุคคล  อันเป็นสมบัติติดตัวที่นอกจากคงทนแล้วยังแข็งกล้ายิ่งขึ้น  ตามกาลเวลาและประสบการณ์  การหมั่นสร้างผังมโนภาพ  และหมั่นขัดเกลาผังมโนภาพที่สร้างให้ประณีตอยู่เสมอ  จะช่วยให้ผังมโนภาพสัมพันธ์  มีกรอบรัดกุมและมีความแจ่มกระจ่าง









ตัวอย่าง  การเขียนแผนผังมโนภาพ

รูปแบบที่    จากบนลงล่าง  รูปแบบนี้  มโนภาพแรกจะอยู่บนสุด  มโนภาพต่อ ๆ ไปที่จะสัมพันธ์กันจะลดหลั่นกันลงมา  เช่น


 











รูปแบบที่    จากล่างขึ้นบน  รูปแบบนี้  มโนภาพแทรกอยู่ล่างสุด  แล้วโยงขึ้นไปยังมโนภาพอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันในตอนบน  สูงขึ้นไปโดยลำดับ  เช่น


 





















รูปแบบที่    ขยายรอบตัว  รูปแบบนี้  เขียนมโนภาพแรกไว้ตรงกลาง  ส่วนมโนภาพอื่นที่สัมพันธ์  เขียนกระจายออกรอบ ๆ ไกลออกไปได้หลายระยะ  เช่น



 
















      ๑๓.   วิธีเพิ่มกำลังความสามารถในการคิด
นักจิตวิทยาเชื่อว่าผังมโนภาพสัมพันธ์ของบุคคล  อันเป็นสมบัติติดตัวที่นอกจากคงทนแล้วยังแข็งกล้ายิ่งขึ้น  ตามกาลเวลาและประสบการณ์  การหมั่นสร้างผังมโนภาพ  และหมั่นขัดเกลาผังมโนภาพที่สร้างให้ประณีตอยู่เสมอ  จะช่วยให้ผังมโนภาพสัมพันธ์  มีกรอบรัดกุมและมีความแจ่มกระจ่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น