สื่อการเรียนรู้ ม.4


แบบทดสอบวิชาภาษาไทย    ระดับชั้น ม .๔
คำชี้แจงให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
.     ข้อใดมิใช่ปัญหาของการอ่านออกเสียงคำที่นักเรียนควรคำนึงถึง
             .     การลงเสียงหนักเบาของคำ                    .     การออกเสียงสระ  พยัญชนะ  และวรรณยุกต์
             .     การออกเสียงคำพ้องรูป                           .     การออกเสียงคำที่มีอักษรควบและอักษรนำ
.     ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
             .     ในภาษาไทยมีพยัญชนะทั้งหมด  ๔๔  รูป  ๒๑  เสียง
             .     ในภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะเดี่ยวทั้งหมด  ๒๔  เสียง
                .     พยัญชนะในภาษาไทยแบ่งเป็นไตรยางค์  ได้แก่  อักษรสูง  อักษรกลาง  และอักษรต่ำ
                .     เสียงของพยัญชนะที่เรียกว่าเสียงแปรก็เพราะว่า  การออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว กว่าเสียงจะ
                        ออกจากปากต้องผ่านอวัยวะสกัดกั้น
.     คำในข้อใดอ่านออกเสียงเป็นคำควบแท้ทุกคำ
                .     ขริบ  ขรม  กรี  ไกร  พราก
                .     พร้อง  พร้อม  ปลีก  แปลก  ปราง
                .     ปรับปรุง  คลุมเครือ  พลัดพราก  พลิ้ว  ปรอท
                .     กวัดแกว่ง  ผลิต  ควาญ  เคว้ง  ผลุบโผล่
.     คำในข้อใดมีคำที่อ่านอย่างอักษรนำปนอยู่ด้วย
                .     ขายปลีก  ปลอบใจ  ควายขวิด                .     กวางป่า  กลมกล่อม  ขี้ขลาด
                .     คลุกเคล้า  กลับกลาย  กรีกุ้ง                   .     แม่แปรก  นกปรอท  ปลดแอก
.     คำประพันธ์ในข้อใดมีคำควบแท้มากที่สุด
                .     ครืนครืนใช่ฟ้าร้อง         เรียมครวญ
                .     เกลากลอนกล่าวกลการ          กลกล่อม  ใจนา
                .     คล่ำคล่ำคลิ้งโคลงกล้าย           คู่เคล้าคลอเคลีย
                .     เสียงฆ้องกลองครั่นครื้น           คลุกเคล้าแตรสังข์
.     คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นคำที่ออกเสียงสระยาวทุกคำ
                .     ฉันทำได้  เธอก็ต้องทำได้เหมือนกัน
                .     เขารักเธอมากเกินกว่าที่จะคิดล่วงเกินเธอ
                .     ฉันออกจะง่วงนอน สงสัยยากำลังออกฤทธิ์แน่เลย
                .      พรรณไม้แถวนี้  แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของป่าไม้


.     ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเสียงวรรณยุกต์
                .     วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี    รูป  ๕ เสียง
                .     ปัจจุบันนี้เด็กและคนหนุ่มสาวจะออกเสียงวรรณยุกต์โทแตกต่างกับผู้ใหญ่
                .     วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี ๒  พวก  คือ  วรรณยุกต์ระดับ  และวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ
.     วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ  ได้แก่  เสียงวรรณยุกต์สามัญ  เสียงวรรณยุกต์โท  และเสียง
         วรรณยุกต์ตรี
.     ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทุกเสียง
                .     เสียงนุชพี่ฤาใคร          ใคร่รู้
                .     เสียงสรวลระรี่นี้            เสียงใคร
                .      เสียงบังอรสมรผู้           อื่นนั้นฤามี
                .       เสียงสรวลเสียงทรามวัย          นุชพี่  มาแม่
.     ข้อใดมีคำที่ออกเสียงวรรณยุกต์ตรงกับรูปทุกคำ
                .     นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง                               .     จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
                .     เหมือนพี่นี้ประคอง                                 .     รับขวัญน้องต้องมือเบา
๑๐.     คำในข้อใดอ่านออกเสียงผิดทั้ง ๒ คำ
                .     บรรยาย                       อ่านว่า     บัน ยาย
                         รสนิยม                      อ่านว่า     รด นิ ยม
                .     พรรดึก                        อ่านว่า     พัน ระ - ดึก
                         กรรมเวร                    อ่านว่า      กำ เวน
                .     พรรณนา                    อ่านว่า      พัน นะ นา
                         พรรณราย  อ่านว่า       พัน นะ ราย
                .     ปรากฏการณ์              อ่านว่า       ปรา กด ตะ กาน
                         กาลเทศะ                   อ่านว่า        กาน ละ เท สะ
๑๑.     คำในข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นเกิดที่เดียวกันทุกคำ
                .     พาด   ฟาด                                 .     ฉัตร  หัตถ์
                .     หนาม  ทราม                                             .      ช้อน  ซ้อน
๑๒.     คำในข้อใดที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็น ๒ เสียงทุกคำ
                .     ควันไฟ  ผลิต  ปรับปรุง                                          .     ปรักปรำ  อังกฤษ  อินทรา
                .     ประพฤติ  ปริยาย  กว้างขวาง                 .     สร้างสรรค์  ตริตรอง  ปรัมปรา
๑๓.     คำทุกคำในข้อใดออกเสียงสระยาวทุกพยางค์
                .     ท้องร่อง  เท้าช้าง  แตกร้าว                    .     ร้อยกรอง  ต้องการ  ไม้หมอน
                .     กีดขวาง   จอมเกล้า   กราบไหว้                            .     กลองเพล  ร่อยหรอ  ตามรอย
๑๔.     ข้อใดมีคำที่อ่านออกเสียงไม่ต่อเนื่องกันแบบคำสมาสทั้ง ๒ คำ
                .      รสนิยม  ภูมิลำเนา                                  .     รัฐนิยม  ภูมิภาค
                .      รัชสมัย   ภูมิอากาศ                                                .      ภูมิศาสตร์  รัชมังคลาภิเษก
๑๕.     คำในข้อใดอ่านออกเสียงแบบอักษรนำทุกคำ
                .     สมัชชา  สมานมิตร                                 .     สมรรถนะ   สมานคติ
                .     สมรรถภาพ    สมานฉันท์                      .     สมรรถชัย  สมานไมตรี
๑๖.     การซ้ำคำในข้อใดมีความหมายทำนองเดียวกับการซ้ำคำในตัวอย่างนี้
                ฉันชอบเสื้อผ้าสีเทา ๆ ตัวนั้นของเธอจังเลย
                .     ผู้หญิงสวย ๆ คนนั้นเป็นใคร
                .     ที่พูดมานี้หวังว่าน้อง ๆ คงเข้าใจ
                .     พรุ่งนี้พบกันข้าง ๆ สระน้ำจุฬา ฯ นะ
                .     การวัดผลครั้งนี้จะพิจารณาเป็นคน ๆ ไป
๑๗.     ประโยคใดมีคำสะกดถูกทุกคำ
                .     อิริยาบทงามวิไลทำให้น่าหลงใหล
                .     ทะเลสาบแห่งนี้สาบสูญตามคำสาปแช่ง
                .     คฤหัสถ์ผู้มั่งคั่งเก็บมงกุฎอันมีค่าไว้ในคฤหาสถ์
                .     ทางการกำลังทะนุบำรุงโบราณสถานที่ปรักหักพังและพังทลาย
๑๘.     คำในข้อใดไม่อ่านอย่างคำสมาสทั้ง ๒ คำ
                .     เกียรติประวัติ  กลวิธี                                                .     อักษรศาสตร์  อุบัติเหตุ
                .     ประวัติการณ์  มูลนิธิ                                               .     รสนิยม  ปรากฏการณ์
๑๙.     พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม  กาญจนาชีวะ)  แต่งหนังสือหลักภาษาไทยการอ่านออกเสียงประโยคข้างต้นควรอ่านอย่างไร
                .     พระยาอุปกิตศิลปสารแต่งหนังสือหลักภาษาไทย
                .     พระยาอุปกิตศิลปสาร  นิ่ม  กาญจนาชีวะ  แต่งหนังสือหลักภาษาไทย
                .     พระยาอุปกิตศิลปสาร  วงเล็บ  นิ่ม  กาญจนาชีวะ  แต่งหนังสือหลักภาษาไทย
                .     พระยาอุปกิตศิลปสาร  ในวงเล็บ  นิ่ม  กาญจนาชีวะ  แต่งหนังหลักภาษาไทย
๒๐.     คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนคำ เร่งรัดทุกคำ
                .     ข้าวจี่  กั้นซู่  คุ้มคลั่ง  ว้าวุ่น
                .     ต้นโคล้ง  แส้ม้า  ชอกช้ำ  จี้เพชร
                .     เงือดเวื้อ  เก๋งพั้ง  เก๊กหน้า  ริบหรี่
                .     ขอดค่อน  ควบแน่น  ขวักไขว่  ฝักถั่ว

1 ความคิดเห็น: